การทำปุ๋ย

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550

การทำปุ๋ย

เทคนิคการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ (น้ำสกัดชีวภาพ) จากพืชสด

ปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือน้ำสกัดชีวภาพ เป็นการทำปุ๋ยจากธรรมชาติที่ คิดค้นโดยภูมิปัญญาของชาวบ้าน อีกทั้งประกอบด้วยความสามารถของคน ไทยในการนำมาดัดแปลงและพัฒนา ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่คิดค้นขึ้นมา เกษตรกร ได้ทดลองทำและใช้กับพืชผล ก็พบว่าพืชผลเจริญเติบโตงอกงามขึ้นอย่างรวด เร็ว และได้มีการพัฒนาวิธีการหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือน้ำสกัดชีวภาพขึ้นมา เป็นจำนวนมาก แต่ในที่นี้ขอกล่าวถึงเทคนิคการทำน้ำหวานหมักจากพืช สกัดสีเขียว (FPJ : Fermented Plant Juice) โดยพืชที่ใช้ทำน้ำหวานหมักคือ พืชสีเขียวทุกชนิดที่รับประทานได้ ส่วนน้ำหวานจากพืช หมายถึงน้ำเลี้ยงของ พืชที่อยู่ในท่อส่งอาหารของพืช น้ำหวานของพืชใดก็จะเป็นอาหารธรรมชาติ ที่ดีที่สุดของพืชชนิดนั้น เช่น น้ำหวานหมักจากข้าวโพดก็จะให้ธาตุอาหารที่ ดีที่สุดสำหรับข้าวโพด หรือน้ำหวานหมักจากอ้อยก็จะให้ธาตุอาหารที่ดีที่สุด สำหรับอ้อย แต่จะมีพืชบางชนิดที่ให้ธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อพืชอื่น ๆ โดยทั่วไปได้ดี เช่น ผักบุ้ง หยวกกล้วย หน่อไม้ เป็นต้น พืชที่ช่วงความยาว ระหว่างข้อภายในกิ่งยาวยิ่งดี และควรเป็นพืชโตเร็ว เพราะพืชที่โตเร็วมีพลัง ธรรมชาติที่จะสร้างพลังชีวิตได้มากและเร็ว
น้ำหวานจากพืชนี้ เป็นทรัพยากรธรรมชาติภายในพื้นที่ที่ประเมิน ค่ามิได้สำหรับเกษตรกร เพราะไม่ต้องนำเข้าปุ๋ยหรือสารบำรุงพืชใด ๆ เนื่อง จากน้ำหวานจากพืชเป็นอาหารที่ดีที่สุดของพืชอยู่แล้ว ทั้งยังไม่ต้องจ่ายเงิน ซื้อ จะช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้สารเคมี รักษาความสมดุลของระบบ นิเวศและสภาพแวดล้อม เป็นผลดีต่อสุขภาพผู้ผลิต ผู้บริโภค

วัสดุและอุปกรณ์
1. พืชสดสีเขียว
2. น้ำตาลทรายแดง
3. ไหดินเผาเคลือบ สะอาด แห้ง
4. ผ้าพลาสติกปูรอง
5. มีด
6. เขียง
7. ตาชั่ง
8. อ่างคลุกพืช
9. กระดาษสะอาดสำหรับปิดปากไห
10. เชือกสำหรับมัดปากไห
11. ถุงพลาสติกสำหรับใส่น้ำเป็นน้ำหนักทับปากไห
12. ยางรัดถุงพลาสติก

วิธีทำ
1. ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเก็บเกี่ยวพืชที่ต้องการทำน้ำหวานหมัก คือ ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ไม่ต้องล้าง เพราะไม่ต้องการให้จุลินทรีย์ที่อยู่บน ใบพืชถูกชะล้างออกไป หากเปียกฝน ผึ่งในร่มให้หมาดก่อน เปียกน้ำค้างไม่ เป็นไร เพราะน้ำค้างมีธาตุอาหารของพืชบางส่วน ที่ใบพืชจะมีน้ำหวานของพืชซึมติดอยู่ที่ปลายท่ออาหาร จุลินทรีย์จะไปเกาะกินน้ำเลี้ยงที่ซึมอยู่บนใบ จุลินทรีย์เหล่านี้มีประโยชน์มากต่อพืชตระกูลหญ้า เช่น ข้าว อ้อย ข้าวโพด ฯลฯ
2. ตัดพืชเป็นท่อน ๆ ยาวประมาณ 3-5 ซม. สำหรับหยวกเอามา ทั้งต้น ไม่ต้องตัด ไม่ต้องลอกกาบ และแน่นอนไม่ต้องล้าง ซอยโคนให้เป็น แฉก ๆ กว้างประมาณ 2 ซม. แล้วสับขวางอีกครั้ง ให้ยาวประมาณ 3-4 ซม. หน่อไม้ก็เช่นเดียวกัน อย่าลืมว่าไม่ต้องล้างพืชก่อนตัด
3. ชั่งน้ำหนักพืชที่ตัดแล้ว เพื่อกำหนดสัดส่วนของน้ำตาลทรายแดง ที่จะใช้ผสมในการทำน้ำหวานหมักจากพืชสดสีเขียว จะใช้น้ำตาลครึ่งหนึ่ง ของน้ำหนักพืชสด ในระยะต้นที่ยังกะประมาณไม่เป็น เพราะยังขาดประ- สบการณ์ ควรชั่งเพื่อความถูกต้องแน่นอน เมื่อชำนาญแล้วจึงประมาณเอา ได้ แบ่งน้ำตาลออกเป็น 6 ส่วน 1 ส่วน เก็บไว้ปิดหน้าไห 2 ส่วนใช้คลุกอ่าง แรก อีก 3 ส่วนใช้คลุกอ่างที่สอง
4. ถ้ามีเกลือสินเธาว์ คือ เกลือจากดิน ไม่ใช่เกลือจากทะเล จะใช้เกลือสินเธาว์ผสมในส่วนของน้ำตาลได้ ในสัดส่วนเดิม คือให้เกลือ ผสมน้ำตาลมีน้ำหนักเท่ากับครึ่งหนึ่งของน้ำหนักพืช เช่น พืช 6 กิโลกรัม ปกติต้องใช้น้ำตาล 3 กิโลกรัม ถ้าเป็นเกลือผสมน้ำตาล ก็ต้องเป็น 3 กิโลกรัมเหมือนกัน ควรใช้เกลือน้อยกว่าน้ำตาล จึงเป็นน้ำตาล 2 กิโลกรัม และเกลือ 1 กิโลกรัม เกลือสินเธาว์มีธาตุอาหารสำหรับพืชมาก จะทำให้ น้ำหวานหมักมีธาตุอาหารสำหรับพืชเพิ่มขึ้น และน้ำหวานก็จะมีมากขึ้น
5. แบ่งพืชที่หั่นและชั่งแล้วออกเป็น 2 ส่วน เอาพืชส่วนหนึ่งใส่อ่าง โรยน้ำตาลทรายแดง ผงกอง 2 ส่วนลงบนพืช ไม่ต้องมากนัก แล้วใช้มือทั้งสองกอบพลิกพืช คลุกเคล้ากับน้ำตาลผงที่โรยให้เข้ากัน ระมัดระวัง ทะนุ- ถนอม อย่าให้พืชช้ำ ทุกอย่างต้องเบามือ แล้วค่อย ๆ เอามือทั้งสองกอบพืช ใส่ไหที่เตรียมไว้ เกลี่ยให้เรียบเสมอ กดเบา ๆ ให้แน่นทุกกอบที่ใส่ลงไป
6. ขั้นต่อไป โรยน้ำตาลผงกอง 3 ส่วน ลงบนพืชส่วนที่เหลือในอ่าง ใบที่สอง ถ้าน้ำตาลเป็นก้อนควรบดให้ละเอียด เหลือน้ำตาลกอง 1 ส่วนสุดท้ายไว้ปิดหน้าพืชที่ปากไห หมักพืชส่วนที่สองที่คลุกเคล้าน้ำตาล แล้วนี้ทิ้งไว้ในอ่าง 2 ชั่วโมง เอากระดาษสะอาดปิดคลุมอ่างไว้
7. ค่อย ๆ กอบพืชจากอ่างคลุก เติมลงในไห กดพืชให้แน่นไป เรื่อย ๆ ด้วยปลายนิ้วทั้ง 4 ทั้ง 2 มือพร้อมกัน จนพืชหมดอ่าง ใส่น้ำตาลที่ เหลือปิดหน้าพืชให้ทึบ นำผ้าสะอาดชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดปากไห ขอบและ ภายนอกตัวไห อย่าให้มีคราบน้ำตาลเพราะมดจะขึ้น ใช้กระดาษสะอาดปิด ปากไห ทิ้งไว้ 3 ชั่วโมง ในระหว่าง 3 ชั่วโมงนี้ พืชจะยุบตัวโดยธรรมชาติ ถ้าน้ำหวานออกมากและพืชยุบตัวลงเหลือประมาณ 2/3 ของไห นำกระ-ดาษสะอาดปิดปากไห และผูกเชือกได้เลย
8. สำหรับพืชที่น้ำออกน้อย ควรเอาถุงพลาสติกใส่น้ำ ผูกปากให้ แน่น วางทับหน้าพืชเป็นน้ำหนักอีก ทำความสะอาดภายนอกไหอีกครั้ง ให้หมดน้ำตาล ทิ้งไว้ 1 คืน จึงเอาถุงน้ำออก
9. พืชเขียวต้องอยู่ประมาณ 2/3 ของไห ควรมีที่ว่างประมาณ 1/3 ที่ปากไห เพื่อให้จุลินทรีย์หายใจ ใช้กระดาษสะอาดปิดปากไห (ห้าม ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์) แล้วรัดปากไหด้วยยางหรือเชือก เขียนชื่อพืช วัน เวลาที่ผลิตปิดไว้กันลืม 10. ไหที่ทำน้ำหวานหมัก ต้องวางไว้ในร่ม ภายในหลังคา อย่าให้ ถูกฝน จะใช้โถแก้วก็ได้ แต่ต้องหาผ้าหรือกระดาษปิดให้ทึบ อย่าให้แสงเข้า ได้
11. พืชส่วนใหญ่จะใช้เวลา 8-10 วัน จนเกิดการหมักที่สมบูรณ์ ช่วง 4-5 วันแรกจะเป็นเพียงน้ำหวาน การหมักยังไม่สมบูรณ์ เมื่อสมบูรณ์ แล้วจะมีกลิ่นหอมหวาน และพืชจะกลายเป็นสีเหลืองจาง ๆ เพราะธาตุสี เขียว (คลอโรฟีลล์) ถ่ายเทมาอยู่ในของเหลวแล้ว
12. เมื่อได้ที่ เปิดกระดาษที่ปิดไว้ออก ใช้ปั๊มดูดน้ำหวานหมักออก ใส่ขวดสีทึบ ปิดฝา ห้ามใส่ขวดพลาสติก เพราะจะมีปฏิกิริยาเกิดก๊าซพุ่ง ออกมา ปริมาณที่ใส่ในขวดก็เหมือนเดิม คือ 2/3 ของขวด เพื่อมีที่ให้ จุลินทรีย์หายใจ ถ้าไม่มีตู้เย็น เก็บไว้ในที่ร่มเย็น ถ้ากลิ่นเปลี่ยนเป็นกลิ่น เปรี้ยวหรือกลิ่นแอลกอฮอล์ ให้เติมน้ำตาลลงไป 1/3 ของปริมาณน้ำ เป็นอาหารจุลินทรีย์ แต่ไม่ควรทำไว้มากเกินความต้องการใช้ในแต่ละครั้ง

วิธีการนำไปใช้
1. น้ำหวานหมักที่ได้จะต้องไม่มีกลิ่นแอลกอฮอล์
2. การใช้นั้น ใช้น้ำหวานหมัก 1 ส่วนผสมกับน้ำ 500 ส่วน ใช้ ภาชนะเดียวกัน 1:500 นำไปรดผักที่ต้องการตั้งแต่ช่วงผักเริ่มงอกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว

การใช้น้ำหวานหมักนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเร่งให้เกิดกิจกรรมทาง ธรรมชาติของต้นไม้ คือจะให้ต้นไม้เจริญเติบโต เมื่อใช้แล้วคอยสังเกตความ เปลี่ยนแปลงจากพืช แล้วปรับสัดส่วนระหว่างน้ำหวานหมักกับน้ำให้เหมาะ- สมกับความต้องการของพืชผักด้วย


สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
เทคโนธานี ถ.เลียบคลองห้า ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 ประเทศไทย
โทรศัพท์ 0-2577-9000
โทรสาร 0-2577-9009

196 พหลโยธิน จตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทร. 0-2579-1121..30,0-2579-5515,0-2579-0160,0-2579-8533
โทรสาร. 0-2561-4771,0-2579-8533 เทเลกซ์. 21392 TISTR TH
เว็บไซด์ : http://www.tistr.or.th
E-mail: hotline@tistr.or.th

กระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี

ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ : 0-2246-0064 , 0-2640-9600
โทรสาร: 0-2246-8106
เว็บไซด์ : http://www.most.go.th
อีเมล์ : helpdesk@most.go.th

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2544 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537


B P F BIOFERTILIZER บี.พี.เอฟ


ผลิตภัณฑ์, คุณสมบัติ

ปุ๋ยชีวภาพ - ปุ๋ยไบโอ – เค Bio-Potassium
  • มิติใหม่ล้ำยุคของปุ๋ยชีวภาพ
  • ผลิตจากจุลินทรีย์ (siticate bacgteria) ประสิทธิภาพสูง ที่สกัดละลายเพิ่มความเป็น

ประโยชน์ของธาตุ โดยเฉพาะโพแทสเซียม (K) ฟอสฟอรัส (P) และธาตุอื่น ๆ เช่น N, Mg, Ca, Fe, Mo ฯลฯ ทั้งภายในดินและจากหินหรือแร่

  • สร้างสารเร่งการเจริญเติบโตของพืช
  • ประสิทธิภาพสูง เพิ่มผลผลิตพืชทุกชนิด เช่น พืชผัก พืชไร่ ไม้ผล 10-30%
  • เพิ่มความต้านทานโรคแมลง
  • เพิ่มความทนแล้ง

ที่มาของปุ๋ยชีวภาพ ไบโอ - เค

1. ด้วยในระยะ 30 ปีที่ผ่านมา มีการใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง เพื่อเพิ่มผลผลิต
พืชเกษตรทุกชนิด
2. ปุ๋ยเคมีส่วนใหญ่ เน้นการเพิ่มธาตุไนโตรเจน (N) และฟอสฟอรัส (P) ทำให้ดินส่วน
ใหญ่เสียความสมดุล ขาดธาตุโพแทสเซียม (K) ที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโต
และการให้ผลผลิตของพืชไม่แตกต่างกันไปจากธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัส เพราะ
ทั้ง 3 ชนิดเป็นธาตุอาหารหลักที่พืชจำเป็นต้นใช้ในปริมาณมาก
3. ปุ๋ยชีวภาพ ไบโอ – เค เกิดขึ้นโดยการศึกษาค้นคว้าของสถาบันวิจัยทางชีวภาพของ
Hebei Acadamy of Seiences, เมือง Boading ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
4. ปุ๋ยชีวภาพ ไบโอ – เค ผ่านการทดสอบทั้งในห้องปฏิบัติการ เรือนทดลอง และภาค
สนามในมากกว่า 20 เขต ทั่วจังหวัดเฮไบ (Hebei) และสรุปว่า มีผลทำให้ผลผลิตพืช
มากกว่า 20 ชนิดเพิ่มขึ้น 10-30%
5. ปุ๋ยชีวภาพ ไบโอ – เค จึงเป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกรระดับแนวหน้า

จุลินทรีย์ในปุ๋ยชีวภาพ ไบโอ - เค

เป็นจุลินทรีย์ประเภท Silicate bacteria ที่ผ่านการวิจัยทดสอบ และคัดเลือกอย่างเป็นขั้นตอน โดยนักวิทยาศาสตร์จีน มีความเชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยา จนในที่สุดได้สายพันธุ์เชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด ก่อนนำมาใช้ผลิตปุ๋ยชีวภาพ ไบโอ – เค ในระยะ 3 ปีแรกที่ผลิตจำหน่าย (2537-2540) ก็ได้รับความนิยมจากเกษตรกรจีนที่มีพื้นที่เกษตรกรรวมกันมากถึง 1.45 ล้านไร่

บทบาทและกิจกรรมของจุลินทรีย์ในปุ๋ยชีวภาพ ไบโอ-เค

เมื่อใส่ปุ๋ยชีวภาพ ไบโอ – เค เชื้อจุลินทรีย์ในปุ๋ยจะเข้าไปเจริญเติบโต และขยายประชากรอยู่ในดิน และบนรากพืชและก่อกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ดังนี้

    1. ย่อยละลายและเปลี่ยนธาตุโพแทสเซียม (K) และฟอสฟอรัส (P) จากรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช
    2. ย่อยละลายธาตุอาหารชนิดอื่น ๆ ที่มีในวัตถุต้นกำเนิดดินและในดิน เช่น N, Mg, Ca, Al, Si ฯลฯ ให้เป็นประโยชน์ต่อพืช
    3. ทำลายโครงสร้างและปลดปล่อยโพแทลเซียม (K) ที่ถูกตรึงไว้ในดิน ให้พืชสามารถใช้ประโยชน์
    4. ผลิตสาร stimulins ซึ่งเป็นสารเร่งการเจริญเติบโตของพืช
    5. เพิ่มความต้านทานโรค spot, blight, witt, blast และ rust
    6. เพิ่มความทนแล้ง ทนต่ออากาศเย็น และป้องกันปัญหาพืชล้มง่าย

ผลการทดสอบมีประสิทธิ

จากการทดสอบปุ๋ยชีวภาพ ไบโอ – เค ที่ดำเนินการต่อเนื่องกันเป็นเวลา 3 ปี โดยนักวิทยาศาสตร์ มีผลสรุปดังนี้

  1. คลุกเมล็ดก่อนปลูก
  2. : ขนาด 1 – 1.20

    : นำเชื้อผสมน้ำพอมาด ๆ ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วนำไปหว่าน

    : เหมาะสำหรับ ข้าว, ข้าวโพด, ฝ้าย, ถั่ว ฯลฯ

  3. จุ่มหรือแช่รากต้นอ่อนก่อนย้ายปลูก / ข้าว มันเทศ ผักต่าง ๆ
  4. : ขนาด 1 กก. / น้ำสะอาด 2.5 ลิตร คนให้เข้ากัน จุ่มรากกล้าพืชลงในปุ๋ย 5-10 นาที

    (อาจคำนวณลดปริมาณปุ๋ยต่อน้ำได้ตามจำนวนต้นกล้า)

  5. เป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูก
  6. : นำเชื้อขนาด 2 – 3 กก. ผสมกุบดิน หรือปุ๋ยอินทรีย์, ปุ๋ยคอก ขนาด 700 กก.

    : นำปุ๋ยที่ผสมแล้วใส่ก้นหลุม หรือหว่านทั่วแปลง พืช มันฝรั่ง ยาสูบ หรือพืช

    อื่น ๆ

  7. ไม้ผลไม้ยืนต้น

: นำปุ๋ยผสมกับน้ำราดลงในหลุมปลูกหรือรอบโคนต้น

: ปุ๋ย 4.8 กก. กับน้ำ 50 – 100 ลิตร คนให้เข้ากัน / พื้นที่ 1 ไร่

: หรือเชื้อ 3-4 กก. / 50 ต้น

วิธีการใช้ปุ๋ยไบโอ – เค (เพิ่มเติม)

เพื่อให้การใช้เกิดประสิทธิภาพ และประหยัดต้นทุน ขอแนะนำการใช้ ดังรายละเอียด

1. หมักดิน

2. คลุกเมล็ด / แต่งเมล็ด

3. จุ่มราก / แต่งราก

4. ปุ๋ยน้ำ

- หมักดิน - แต่งราก, จุ่มราก

- ปุ๋ยน้ำ - คลุกเมล็ด

1. ขั้นตอนการขยาย

รูปภาพ 1

1. เตรียมน้ำใส่ถัง 100 ลิตร

2. กากน้ำตาล 10 kg.

3. รำอ่อน 5 kg.

4. เชื้อปุ๋ยไบโอ – เค 1 kg. หมัก 72 ชั่วโมง

5. ทั้ง 4 รายการนำมาผสมรวมกัน แล้วหมักไว้ 72 ชั่วโมง (3 วัน) จึงนำไปใช้ได้

6. หากหมักขั้นตอนที่ 1 แล้วยังไม่นำไปใช้ต่อ สามารถขยายต่อได้อีก โดยวิธีการดังนี้

- กากน้ำตาล 10 กก. 100 กก. 1,000 กก.

- รำอ่อน 5 กก. 50 กก. 500 กก.

- ปุ๋ยไบโอ-เค 1 กก. 100 ลิตร 1,000 กก.

- หมักครบ 72 ชม. หมัก 72 ชม. หมัก 72 ชม.

- ฉีดพ่น 20 ลิตร/ไร่ 40 ลิตร 80 ลิตร/ไร่

  • จากขั้นตอนการขยายมาแล้ว นำไปใช้กรณีหมักดิน โดย
    • ฉีดพ่นลงแปลง แล้วไถกลบ ขนาด 20 ลิตร/ไร่ จากน้ำหมัก 100 ลิตร
    • หาหมักต่อจาก 100 ลิตร ฉีดพ่น 40, 80 ลิตร ตามสัดส่วนการหมัก
    • หมักไว้ / วัน ห้าม เผาหญ้าฟาง
    • ระหว่างการหมักดิน หากมีการเติมธาตุอาหารจากธรรมชาติ เช่น เพอร์ไลท์, ฟอสเฟต หรือ

โดโลไมท์ร่วมกันจะมีประโยชน์เพิ่มขึ้น

    • กรณีน้ำตม สามารถเทน้ำจุลินทรีย์ตามสัดส่วน แล้วไถกลบได้เลย
      • ไม้ยืนต้น

- สามารถใช้ร่วมกับเครื่องยิงจุลินทรีย์ได้ ต้นละ 3 จุด รอบต้น

- หรือราดต้นละ 1 ลิตร

- นำน้ำจุลินทรีย์ฉีดพ่นทางใบ จะเป็นการป้องกันเชื้อโรคไปในตัว หรือหากน้ำน้ำผสมเพอร์ไลท์ก่อนนำไปฉีดก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น (100 ลิตร/เพอร์ไลท์ 5 กก.)

  • การทำปุ๋ยน้ำ
      • วิธีการ จากการหมักน้ำ 100 ลิตร ครบ 72 ชั่วโมง ให้เติมอินทรีย์วัตถุที่มีซิริก้าหรือผลไม้

สุก 50 กก. / 100 ลิตร หมักต่ออีก 3 เดือน จะเป็นสูตรปุ๋ยเร่งผล

        • ปุ๋ยน้ำ หลังจากหมักได้ครบ 3 เดือน ควรใช้ทันที ไม่สามารถเก็บต่อได้ เพราะ

เชื้อจะตาย

กรณี ที่มีปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ด หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย นำน้ำที่หมักไว้ ฉีดพ่น

ลงในเม็ดปุ๋ย แล้วจึงนำปุ๋ยดังกล่าวไปหว่านในนาข้าว แล้วไถกลบไว้ ซึ่งไม่ต้องเติมเคมี

ใด ๆ ทั้งสิ้น (นาข้าวอีสาน ผลผลิตจะได้ 400 กก. / ไร่ ขนาดปุ๋ย 50 กก. / ไร่

      • ทำติดต่อกันต่อเนื่อง จนครบปีที่ 3 สามารถให้ผลผลิตได้ 1,000 กก./ไร่

2. การใช้โดยตรง

  • จุ่มราก
      • เชื้อ BPF/Bio-K 1 กก.
      • น้ำ 1 – 2 ลิตร หรือ 10 ลิตร
      • เพอร์ไลท์ 3 กก.
      • นำรากพืช ที่ย้ายกล้ามาจุ่ม พอติดราก แล้วนำปลูกลงแปลง
  • คลุกเมล็ด

เพิ่มเปอร์เซ็นต์ความงอกและรากพืชสมบูรณ์ ลดการเป็นโรค

      • เชื้อ 1 กก.
      • น้ำ 1 – 2 ลิตร
      • นำเมล็ดพืชข้าว 20 กก.
      • เมื่อคลุกแล้วผึ่งในร่มให้แห้งแล้วนำไปหว่านและใช้ให้หมดภายใน 48 ชั่วโมง

แสดงหมวดหมูสินค้าทั้งหมด



การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากขยะในครัวเรือน วัสดุและอุปกรณ์ 1. ถังหมักที่มีฝาปิดสนิท 2. ถุงใส่เศษอาหารที่มีฝาปิดสนิท 3. เศษอาหารจากครัว 4. กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทุกชนิด วิธีทำ 1. นำเศษอาหารใส่ ลงในถุง 2. คลุกด้วยกากน้ำตาลในอัตราส่วน 3:1 คือเศษอาหาร 3 ส่วนต่อกากน้ำตาล 1 ส่วนโดยน้ำหนัก 3. เมื่อเต็มถุงมัดปากถุงให้แน่น 4. นำถุงลงใส่ในถังหมักทับถุงเศษอาหารด้วยของหนักแล้วปิดถังให้สนิท 5. หมักไว้ 3 – 4 วัน จะได้น้ำสกัดชีวภาพหรือบีอี 6. ถ่ายน้ำสกัดชีวภาพลงในภาชนะพลาสติกปิดฝาให้แน่นเก็บไว้ใช้ การใช้ประโยชน์ 1. ผสมน้ำรดต้นไม้ได้ทุกชนิดในอัตราส่วน 1:1,000 2. ใส่ในส้วมเพื่อเร่งการย่อยสลาย 3. ราดในท่อระบายน้ำ 4. ราดบริเวณรอบบ้านเพื่อลดปัญหาแมลงวันและยุง 5. เร่งการทำปุ๋ยหมักจากใบไม้ในหญ้าในบ้าน 6. ฉีดพ่นไล่มดและแมลงสาบในบ้าน 7. ทำความสะอาดเครื่องประดับ 8. ใส่ตู้ปลาเพื่อย่อยสลายขี้ปลาและเศษอาหาร 9. ผสมน้ำอาบให้สัตว์เลี้ยงเพื่อกำจัดกลิ่นตัว 10. ใส่ในน้ำให้สัตว์เลี้ยงกิน 11. ผสมน้ำแช่ผักเพื่อลดพิษจากยาฆ่าแมลง 12. ผสมน้ำล้างปลาให้หมดกลิ่นคาว 13. น้ำสกัดชีวภาพที่หมักด้วยผลไม้และน้ำตาลทรายใช้เป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์และรสชาดดี 14. กากที่เหลือฝังดินเป็นปุ๋ยต้นไม้ หมายเหตุ 1. เศษอาหารที่ใช้หมักควรสดและไม่เน่า 2. เศษอาหารที่เป็นแกงต้องเทน้ำออกก่อน 3. ถ้ามีเศษอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ต้องเพิ่มน้ำตาล 4. น้ำสกัดชีวภาพที่ใช้ไล่แมลง ไล่มด ควรได้จากาการหมักของเปลือกผลไม้หรือผลไม้ดิบ เช่น มะละกอ สับปะรด มะม่วง และสมุนไพร รายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเว็บ http://www.doae.go.th/soil_fert/biofert/index1biofer.htm
ผู้ตอบท่านที่ 2
ถ้าไม่ต้องการเสียเวลา สามารถสอบถามและสั่งซื้อได้ที่ (01 8646365)หรือ (039 512056)อยู่ที่จังหวัดตราด มีทั้ง ปุ๋ยน้ำจากปลาหมักที่ทำจากปลา100% และปุ๋ยน้ำชีวภาพด้วย ที่นี้เป็นศูนย์สาทิตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากผู้ที่เคยรองใช้มาบอกว่าได้ผลดีกับพืชไร่พืชสวนทุกชนิด สามารถประหยัดตค่าปุ๋ยอื่นๆได้มาก ราคาไม่แพง สนใจติดต่อได้ที่ 01- 8646365 039-512056 จาก : คุณสุระ ไชยศิริ - - mas2mas3@thaimail.com - 07/01/2003 18:09





อาชีพในระบบ อาชีพอิสระ แหล่งการศึกษา แหล่งฝึกอบรม แหล่งเงินทุน
| หน้าหลัก | หมวด 1| หมวด 2 | หมวด 3 | หมวด 4 | หมวด 5 | หมวด 6 |

หมวด 1 การเกษตรกรรม
หมวดย่อย 11 การเพาะปลูก
รหัสอาชีพ 11026 ทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจากเศษอาหาร


เงินลงทุน
ประมาณ 1,000 บาท(กากน้ำตาลราคาแกลลอนละ 180 บาท (5 ลิตร) ถัง 200 ลิตร ราคา 120 บาท)

รายได้
ประมาณ 2,000 – 3,000 บาท/เดือน

วัสดุ/อุปกรณ์
ถังมีฝาปิด ถุงปุ๋ย กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง หัวเชื้อจุลินทรีย์ ขยะเศษอาหาร

แหล่งจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์
เชื้อจุลินทรีย์(มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า “พค.1”) ขอรับได้ฟรีจากกรมพัฒนาที่ดินจังหวัดทุกแห่ง หรือซื้อได้ตามร้านเคมีภัณฑ์
(มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ไบโอนิค เอฟ 60 หรืออีเอ็ม)

วิธีดำเนินการ
สูตรที่ 1 การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจากพืช
ส่วนผสม กากน้ำตาล 250 ซีซี
เชื้อจุลินทรีย์ 250 ซีซี
น้ำ 8 ลิตร
วัตถุดิบ (เศษผัก ผลไม้หรืออาหาร)
วิธีทำ
1. เติมน้ำ 8 ลิตรใส่ถัง
2. เทกากน้ำตาลละลายน้ำ
3. ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ แล้วปิดฝาทิ้งไว้ 2 วัน
4. น้ำเศษอาหาร เศษผัก เปลือกผลไม้ ใส่ถุงปุ๋ย แล้วนำเชื้อจุลินทรีย์ใส่ในถุงปุ๋ย หากน้ำจุลินทรีย์ไม่มากพอที่จะท่วมเศษอาหารในถุงปุ๋ยให้เติมน้ำเปล่า
และกากน้ำตาล (หรือน้ำตาลทรายแดง)
ในสัดส่วน น้ำ 8 ลิตร กากน้ำตาล 250 ซีซี
5. ทิ้งไว้ประมาณ 8 วัน ก็สามารถนำเอาน้ำจุลินทรีย์ชีวภาพมาใช้งานได้
สูตรที่ 2 ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ได้จากปลา
ส่วนผสม ปลาเป็ดหรือปลาข้างเหลือง 40 กิโลกรัม
กากน้ำตาล 20 กิโลกรัม
จุลินทรีย์ 200 กิโลกรัม
วิธีการ
1. นำปลาเป็ดหรือปลาข้างเหลืองมาล้างความเค็มจากเนื้อปลา หากไม่ล้างเมื่อนำมาเป็นปุ๋ยดินจะเค็ม
2. นำจุลินทรีย์ละลายในน้ำอุ่น 20 ลิตร คนให้เข้ากันนาน 15 – 30 นาที อย่าให้น้ำนิ่ง จะได้มีอากาศถ่ายเทตลอด
จุลินทรีย์สามารถทำปฏิกิริยากับเศษ อาหารได้ดีขึ้น
3. ใส่ปลาสดลงในถัง 200 ลิตร เติมจุลินทรีย์ตามด้วยกากน้ำตาลและน้ำสะอาดใส่ให้ท่วมเนื้อปลา คนให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้
ที่อุณหภูมิปกติโดยไม่ต้องปิดฝา 20 –30 วัน และต้องกวนให้เข้ากันวันละ 4 –5 ครั้ง ตลอดระยะเวลาในการหมัก
4. สังเกตว่าปลาย่อยสลายหมดแล้ว ปุ๋ยที่ได้จะมีลักษณะเป็นของเหลวข้นสีน้ำตาลเข้มหรืออาจยัง เหลือกากเล็กน้อย

เติมน้ำให้เต็มถัง แล้วคนให้เข้ากันก่อนที่จะนำไปใช้
5. หากต้องการนำปุ๋ยน้ำไปฉีดพ่นทางใบ ให้ผสมปุ๋ยน้ำชีวภาพ 1 ลิตรกับน้ำ 200 ลิตร แต่หาก ต้องการนำไปราดโคนต้น ให้ผสมปุ๋ยน้ำชีวภาพ 1 ลิตร
ต่อน้ำ 20 ลิตร

ตลาด/แหล่งจำหน่าย
ตลาด ร้านขายต้นไม้

สถานที่ให้คำปรึกษา
กรมพัฒนาที่ดินจังหวัดทุกแห่ง และคณะวิชาพืชศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตจันทบุรี โทร. 0-3945-2387-8

ข้อแนะนำ
ประโยชน์ของน้ำจุลินทรีย์ สามารถดับกลิ่นเหม็นช่วยย่อยก๊าซไข่เน่าอันเกิดจากไขมัน โดยใช้ผสมน้ำอัตราส่วน 1 ต่อ 10 เทใส่ห้องส้วม ห้องน้ำ
ห้องเก็บขยะ ท่อน้ำทิ้งร่องระบายน้ำ ทำให้น้ำใส ช่วยย่อยไขมันในบ่อดักไขมัน ถ้าใช้กับต้นไม้ให้ผสมน้ำ 200 ลิตรกับน้ำจุลินทรีย์ 1 แก้ว
รดต้นไม้ทุก 3 หรือ 5 วันก็ได้


กองส่งเสริมการมีงานทำ
กรมการจัดหางาน
กองส่งเสริมการมีงานทำ © Copyright 2004

การทำปุ๋ย
1 ปุ๋ยหมักชีวภาพ
ส่วนประกอบ

1. แกลบเผาหรือแกลบที่เน่าแล้ว 1 กระสอบ
2. มูลสัตว์ เช่น วัว ควาย สุกร เป็ด ไก่ 2 กระสอบ
3. รำอ่อน 1 กระสอบ
4. หัวเชื้อจุลินทรีย์ 3 ช้อนแกง น้ำเปล่า 1 ลิตร

วิธีทำ
1. คลุกแกลบ มูลสัตว์ รำอ่อน ให้เข้ากัน
2. ผสมหัวเชื้อลงในน้ำให้เข้ากัน
3. ผสมน้ำและหัวเชื้อลงกองปุ๋ยให้ทั่วให้มีความชื้นพอประมาณทดลองกำปุ๋ยดูถ้าสามารถเกาะกันเป็นก้อนได้ก็แสดงว่าใช้ได้ แต่ต้องไม่เหนียว
ทดสอบทิ้งลงพื้นประมาณ 1 เมตร ก้อนปุ๋ยจะแตก
4. ตักใส่กระสอบปุ๋ยแล้วมัดปากถุง
5. กองกระสอบปุ๋ยระยะห่างกันให้ความร้อนสามารถระบายได้ออกทุกด้าน ทั้ง 4 ด้านไม่ติดกัน ไม่ให้ถูกแสงแดด
6. กองไว้ 7 วัน สามารถนำไปใช้ได้

2. ปุ๋ยหมักแห้ง
วัสดุ

1. รำ 1 ส่วน
2. มูลสัตว์ 1 ส่วน
3. แกลบดิน 1 ส่วน
4. น้ำ 10 ลิตร + น้ำจุลินทรีย์ 1 ช้อน + กากน้ำตาล 1 ช้อน

วิธีทำ
1. คลุกมูลสัตว์กับรำให้เข้ากัน
2. เอาแกลบป่นผสมลงไป
3. รดน้ำด้วยจุลินทรีย์
4. คลุกเคล้าให้ทั่ว
5. กำดูพอชื้น (40%) วัน พลิกทุกวัน

การใช้
1. เ ลือกทำปุ๋ยหมักให้ตรงกับความจำเป็นของต้นพืช บำรุงใบต้องใช้ปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนสูง ซึ่งมีมากในมูลสัตว์ทุกชนิด ใช้ชนิดใดก็ได้
2. บำรุงให้มีผล ดอกมาก มีลูกดก ต้องใช้มูลสัตว์ที่มีค่าฟอสฟอรัสสูง มูลสัตว์ที่เหมาะสมคือ มูลค้างคาว มูลไก่
3. การบำรุงราก ลำต้นให้แข็งแรง ทำให้มีฐานะดี เช่น มัน มะนาว ผักกาดหัว ใช้มูลสัตว์ที่มีค่าโปรแตสเซียมสูง เช่น มูลหมู มูลวัว
นอกจากจะบำรุงรากและลำต้นแล้ว ยังช่วยให้มีรสหวานกรอบอีกด้วย

บริษัท เอเซียกรุ๊ป เกษตรภัณฑ์ จำกัด
กลับสู่หน้าแรกของ Technology List
[ หน้าแรก] [ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม] [ สมุดแนะนำติชม] [ กระดานสนทนา] [ ปฏิทินกิจกรรม]
ชื่อเทคโนโลยี : การทำปุ๋ยชีวภาพ และการประยุกต์ใช้กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ


น้ำหมักชีวภาพเมื่อนำไปใช้ในด้านกสิกรรม จะช่วยปรับสภาพความเป็น กรด - ด่างให้เป็นกลางในดินและน้ำ ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืช และโรคระบาดต่าง ๆ ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำ และให้อากาศผ่านได้อย่างเหมาะสมช่วยย่อยสะลายอินทรีย์วัตถุให้เป็นอาหารของพืช พืชจะดูดซึมไปใช้ได้เลย และช่วยให้ผลผลิตคงทน มีคุณภาพสูง สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานเมื่อนำน้ำหมักชีวภาพไปใช้ทางการประมง จะช่วยปรับสภาพน้ำให้เป็นกลางควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กุ้ง กบได้ และช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้

ถ้านำไปใช้ในด้านปศุสัตว์จะทำให้มูลสัตว์ไม่มีกลิ่นเหม็น สุขภาพของสัตว์จะแข็งแรงและปลอดโรค คอกสัตว์จะไม่มีกลิ่นเหม็น ช่วยบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ ทำให้อัตราการตายต่ำลง และผลผลิตสูงขึ้น

เมื่อนำน้ำหมักชีวิภาพไปประยุกต์ใช้ในด้านรักษาสิ่งแวดล้อม จะช่วยกำจัดกลิ่นและย่อยสลายตะกอนในส้วม ทำให้ส้วมไม่เต็ม ทำความสะอาดพื้นห้องการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน และสถานประกอบการทั่ว ๆ ไป ปรับสภาพอากาศภายในห้องนอน ห้องรับแขก ห้องครัว ให้สดชื่นกำจัดกลิ่นอับชื้นต่าง ๆ ได้นอกจากนี้ยังให้ฉีดพ่นกองขยะเพื่อลดกลิ่นและปริมาณของกองขยะให้เล็กลงรวมทั้งจำนวนแมลงวันด้วย



ส่วนทางด้านการแพทย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับสุขภาพพลานามัย การเจ็บไข้ได้ป่วยและการตายก่อนวัยอันสมควร ก่อนอายุขัย น้ำหมักชีวภาพจะช่วยผลิตอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ซึ่งจะทำให้อาหารนั้นเป็นยารักษาโรคไปพร้อม ๆ กันซึ่งจะลดการเจ็บไข้ได้ป่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค
ป้องกันการตายก่อนอายุขัยได้
เกี่ยวกับปัญหาความยากจนและหนี้สินของเกษตรกรนั้นน้ำหมักชีวภาพจะเข้ามาแทนที่ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลงและเชื้อโรคต่าง ๆ จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง 4 -16 เท่า และผลผลิตจะสูงขึ้น 3 - 5 เท่า ภายใน 3 -5 ปี จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นมาก และรายจ่ายน้อยลงมากในที่สุดปัญหาความยากจนและหนี้สินก็จะหมดไปภายในเวลาไม่เกิน 6 ปี
ทางด้านการทะเลาะวิวาทบาดหมางกันระหว่างเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงนั้นจะหมดไปเองเพราะไม่มีกลิ่นและมลภาวะไปรบกวนซึ่งกันและกันอีกทั้งฐานะก็ใกล้เคียงกันคืออยู่ดีกินดี มั่งมี ศรีสุข เนื่องจากหมดหนี้สิน




การทำการประยุกต์ใช้น้ำหมักชีวภาพ
--------------------------------------------------------------------------------
ถ้าเรานำหัวเชื้ออีเอ็ม (EM) หรือหัวเชื้อกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (Effective Microorgarnisms) มาใช้โดยตรงจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูงโดยไม่มีความจำเป็นและได้จุลินทรีย์ที่มีความแข็งแรงน้อยกว่านำไปขยายเสียก่อนจึงใช้
วิธีการขยาย อีเอ็ม (EM)
อีเอ็ม (EM) 1 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน + น้ำสะอาด 20 ส่วน หมักไว้ในภาชนะที่มีผาปิดมิชิดอย่าให้อากาศเข้าได้เป็นเวลา 7 วัน แล้วนำมาใช้ให้หมดภายใน 7 วัน เช่นเดียวกับวิธีการใช้ อีเอ็ม (EM)
การรักษา อีเอ็ม (EM)
เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส - 45 องศาเซลเซียส (อย่าเก็บในตู้เย็น) โดยปิดฝาให้สนิทอย่าให้อากาศเข้าได้ ถ้าเปิดใช้แล้วต้องรีบปิดทันที เก็บรักษาไว้ได้ประมาณ 6-8 เดือน หรือมากกว่านั้น
วิธีการใช้ อีเอ็ม (EM) และ อีเอ็ม (EM) ขยายแล้ว
1. การกสิกรรม
ใช้อีเอ็ม (EM) หรือ อีเอ็ม (EM) ขยายผสมน้ำ 1:1000 เท่า (อีเอ็ม 1ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร) ฉีดพ่นรดพืชผักสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แทนปุ๋ยเคมี
2. การประมง
2.1 ใช้อีเอ็มขยายใส่บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ (ปลา กุ้ง กบ ตะพาบน้ำ จระเข้) ในอัตราส่วน 1:1000 เท่า (อีเอ็มขยาย 1 ลิตร ต่อน้ำในบ่อ 10 ลูกบาศก์เมตร) ทุก ๆ 7-10 วัน เพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย
2.2 ใช้อีเอ็มขยายคลุกอาหารสัตว์น้ำก่อนให้กินประมาณ 4 ชั่วโมง (มื้อต่อมื้อ)โดยปิดฝาภาชนะให้สนิทอย่าให้อากาศเข้าได้
3. การปศุสัตว์
3.1 ใช้อีเอ็ม (EM) หัวเชื้อผสมน้ำสะอาดในอัตราส่วน 1:5000 เท่า (1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำสะอาด 50 ลิตร) ให้สัตว์กินเป็นประจำมูลสัตว์จะไม่มีกลิ่นเหม็น
3.2 ใช้อีเอ็ม (EM) ขยาย ผสมน้ำสะอาดในอัตราส่วน 1:500 เท่า(1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำสะอาด 5 ลิตร) ฉีดพ่นและล้างคอกสัตว์เพื่อกำจัดกลิ่นมูลเก่าได้ภายใน 24 ชั่วโมง
3.2 บำบัดน้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ภายใน 1-2 สัปดาห์
4. ด้านสิ่งแวดล้อม
4.1 ใช้อีเอ็ม (EM) ขยาย ใส่ส้วมเพื่อกำจัดกลิ่นและย่อยสลายตะกอน
4.2 ใช้อีเอ็ม (EM) ผสมน้ำอัตราส่วน 1:500 เท่า ฉีดพ่นเป็นฝอยในอาคารบ้านเรือน ปรับอากาศให้สดชื่น กำจัดกลิ่นอับชื้นต่าง ๆ และใช้ ใช้อีเอ็ม (EM) ขยายในอัตราส่วนเดิมทำความสะอาดพื้นห้องน้ำ ห้องส้วม กำจัดกลิ่นคราบสกปรก
4.3 ใช้อีเอ็ม (EM) ขยาย ในอัตราส่วน 1:10,000-20,000 เท่า ฉีดพ่นหรือราดรดน้ำเสียจากการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรมชุมชน และสถานประกอบการทั่ว ๆ ไป ในบ่อบำบัดน้ำเสีย
website: http://science.rin.ac.th/clinictech/em/em.html

ที่มา : คลินิกเทคโนโลยี สถาบันราชภัฎนครราชสีมา


บันทึกข้อมูลโดย : นาย เอกพงศ์ มุสิกะเจริญ, http://www.clinictech.most.go.th, วันที่ 21 สิงหาคม 2546


Thailand Web Stat
94/1 หมู่ 9 ต.ขุนโขลน อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี

รหัสผ่านของคุณปลอดภัยแค่ไหน?

ขั้นแรกในการป้องกันข้อมูลส่วนตัวบนอินเทอร์เน็ตคือการสร้างรหัสผ่านที่ปลอดภัย เช่น รหัสที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือใคร ๆ ไม่สามารถคาดเดาได้อย่างง่ายดายในระยะเวลาอันสั้น เพื่อช่วยให้คุณเลือกรหัสผ่านที่ปลอดภัยได้ เราได้สร้างคุณสมบัติที่ช่วยให้คุณรู้ด้วยตาตัวเองว่ารหัสผ่านของคุณจะปลอดภัยมากแค่ไหนเมื่อสร้างเสร็จแล้ว

เกร็ดน่ารู้สำหรับการสร้างรหัสผ่านที่ปลอดภัย:

  • รวมเครื่องหมายวรรคตอนและ/หรือตัวเลข
  • ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กปนกัน
  • รวมสัญลักษณ์ที่ใช้แทนกันมีลักษณะคล้ายกันไว้ด้วย เช่น เลขศูนย์ที่ใช้แทนตัวอักษร "o" หรือ '$' ที่ใช้แทน 'S'
  • สร้างตัวย่อที่แตกต่าง:
  • ใส่การเลียนเสียงแทนคำลงไปด้วย เช่น 'Luv 2 Laf' สำหรับ 'Love to Laugh'
สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง:
  • อย่าใช้รหัสผ่านที่ใช้เป็นตัวอย่างในการเลือกรหัสผ่าน
  • อย่าใช้รหัสผ่านที่มีข้อมูลส่วนบุคคล (ชื่อ, วันเกิด เป็นต้น)
  • อย่าใช้คำหรือตัวย่อที่ระบุไง้ในพจนานุกรม
  • อย่าใช้การเรียงตัวอักษรตามคีย์บอร์ด (ฟหกด) หรือ ตัวเลขตามลำดับ (1234)
  • อย่าตั้งรหัสผ่านโดยใช้ตัวเลข, ตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่หรือตัวพิมพ์เล็กอย่างเดียวทั้งหมดเท่านั้น
  • อย่าใช้อักขระที่ซ้ำกัน (กก11)
เคล็ดลับในการรักษารหัสผ่านของท่านให้ปลอดภัย:
  • อย่าให้ใครรู้รหัสผ่าน (รวมถึงบุคคลสำคัญอื่น ๆ , เพื่อนหรือนกแก้วที่บ้าน)
  • อย่าจดรหัสผ่านไว้
  • โปรดอย่าส่งรหัสผ่านของท่านทางอีเมล
  • ทดสอบรหัสผ่านปัจจุบันของคุณและเปลี่ยนเป็นระยะ ๆ


โทร. 036-269034, 036-269035 แฟ็กซ์ : 036-269036

Thailand Web Stat

คลังบทความของบล็อก